ตอนที่3

บทที่ 3
การดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียน
            การที่โรงเรียนจะดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียนได้ จะต้องมีแผนการนิเทศภายในโรงเรียนเป็นแม่บทในการดำเนินงาน ซึ่งในแผนการนิเทศนั้นจะมีเอกสารต่าง ๆ ครบถ้วน เช่น ปฏิทินการนิเทศ กิจกรรมการนิเทศ แบบบันทึกนิเทศต่าง ๆ ฯลฯ หากไม่มีแผนการนิเทศภายในโรงเรียนแล้วก็ย่อมจะปฏิบัติการนิเทศภายในโรงเรียนไม่ได้ ในที่นี้จะนำเสนอกิจกรรมการนิเทศภายในโรงเรียนตามขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนการนิเทศ
            การวางแผนการนิเทศ เป็นการร่วมคิดร่วมทำ ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติตามแผนและร่วมปรับปรุงแก้ไขโดยมีกิจกรรมที่ทำ ได้แก่
            1.  วิเคราะห์ความต้องการและประเมินความจำเป็นในการพัฒนา
                 1.1  ข้อมูลความต้องการพัฒนา
                     1.1.1  ข้อมูลครู
                ...............................................................................................................................................
                ...............................................................................................................................................
                     1.1.2  ข้อมูลนักเรียน
                ...............................................................................................................................................
                ...............................................................................................................................................
                 1.2 ประเมินความจำเป็นในการพัฒนา
                     1.2.1
                     1.2.2
                     1.2.3
            2.  จุดเด่นจุดเด่นในการพัฒนา
                 2.1  จุดเด่นจุดเด่น
                     2.1.1  จุดเด่น..........................................................................................................................
                ................................................................................................................................................                      2.1.2  จุดด้อย..........................................................................................................................                         ................................................................................................................................................
           






                2.2  กำหนดจุดที่จะต้องพัฒนา
                     2.2.1  ตารางวิเคราะห์ข้อมูลครู
ความต้องการ
สาเหตุ
จุดที่จะพัฒนา







                     2.2.2  แผนภูมิวิเคราะห์ปัญหาของนักเรียน (แผนภูมิก้างปลา)
 




           
3.  หาแนวทางเลือกเพื่อพัฒนา
ความต้องการในการพัฒนา
สาเหตุความต้องการ
ทางเลือกในการพัฒนา







            4.  วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจัดทำแผนนิเทศภายในโรงเรียน
จุดประสงค์
เป้าหมาย
กิจกรรมนิเทศ







           
             5. สรุปกิจกรรมนิเทศ
                 5.1 ………………………………………………………………………………………………..
                 5.2………………………………………………………………………………………………..
                 5.3………………………………………………………………………………………………..
ฯลฯ


            6. ยุทธศาสตร์การนิเทศ
                 6.1 ภาพปลายทาง
                 6.2 ภาพงาน
            7.  จุดประสงค์การนิเทศ
                 7.1 ………………………………………………………………………………………………..
                 7.2 ………………………………………………………………………………………………..
                 7.3 ………………………………………………………………………………………………..
ขั้นที่ 2 การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ
            การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานแก่บุคลากรภายในโรงเรียนเพื่อให้มีความรู้ ความสามารถในเรื่องนั้น ๆ ก่อนที่จะดำเนินการปฏิบัติจริง โดยกิจกรรมที่ทำ ได้แก่
                  1. สร้างความตระหนักและความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศภายในโรงเรียน
                  2. การให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานก่อนที่จะดำเนินการปฏิบัติจริง
ขั้นที่ 3 การดำเนินการปฏิบัติงานนิเทศ
            การดำเนินการปฏิบัติงานนิเทศ ดำเนินงาน ดังนี้
            1.  แผนนิเทศภายในโรงเรียน
กิจกรรมที่ 1
            ผู้รับผิดชอบกิจกรรมที่ไดรับมอบหมาย (งานวิชาการ)
วัตถุประสงค์
เป้าหมาย
ขั้นตอนการดำเนินงาน
ระยะเวลา
ผู้รับผิดชอบ
สื่อ/เครื่องมือ
การประเมินผล






















กิจกรรมที่ 2
            ผู้รับผิดชอบกิจกรรมที่ไดรับมอบหมาย (งานบุคลากร)
วัตถุประสงค์
เป้าหมาย
ขั้นตอนการดำเนินงาน
ระยะเวลา
ผู้รับผิดชอบ
สื่อ/เครื่องมือ
การประเมินผล














กิจกรรมที่ 3  (งานงบประมาณ)  กิจกรรมที่ 4 (งานบริหารทั่วไป)
            2.  ปฏิบัติการนิเทศตามแผนที่วางไว้
                 2.1  เครื่องมือ
แบบบันทึกการศึกษาดูงาน
วัน เดือน ปี
สถานที่ดูงาน
เรื่องการศึกษาดูงาน
ผลการศึกษาดูงาน











                 2.2  การวางแผนการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน
                     2.2.1  ปฏิทินการนิเทศ
วัน เดือน ปี
เวลา
กิจกรรมนิเทศ
ชั้น
ผู้นิเทศ
ผู้รับการนิเทศ











                      2.2.2  การประเมินผลการนิเทศ
                          2.2.2.1  ประเมินก่อนดำเนินการ………………………………………………………………….
                          2.2.2.2 ประเมินระหว่างดำเนินการ
วัน เดือน ปี
เวลา
กิจกรรมนิเทศ
ชั้น
ผู้นิเทศ
ผู้รับการนิเทศ











                          2.2.2.3 ประเมินหลังดำเนินการ
           
ประเด็นประเมิน
ผลการประเมิน









ขั้นที่ 4 การสร้างเสริมกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานนิเทศ
            กิจกรรมที่ทำได้แก่.....
            1. ผู้นิเทศ/ผู้บริหารสร้างเสริมกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน
            2. ผู้นิเทศ/ผู้บริหารให้ความสนใจ สนับสนุนการปฏิบัติงานและเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในการนิเทศเท่าที่จะทำได้










ขั้นที่ 5 การประเมินผลการนิเทศ
            การประเมินผลการนิเทศ สามารถประเมินได้ทั้งก่อนการดำเนินการ ระหว่างดำเนินการ และหลังดำเนินการ แล้วเมื่อสิ้นปีการศึกษา สถานศึกษาควรสรุปผลการดำเนินงานการดำเนินภายในโรงเรียนทุกกิจกรรมการนิเทศที่ดำเนินการส่งให้หน่วยงานต้นสังกัด ซึ่งสามารถจัดทำรายงานได้ ดังนี้
            ตอนที่/บทที่ 1  ความนำ/บทนำ
-        ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาการนิเทศภายในโรงเรียน
-        วัตถุประสงค์ของการนิเทศภายในโรงเรียน
-        ผลที่คาดว่าจะได้รับ
            ตอนที่2/บทที่ วิธีดำเนินการ
                ในรอบปีการศึกษามีวิธีการดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียนอย่างไรบ้าง
            ตอนที่3/บทที่ ผลการดำเนินงาน
-        ประสบผลสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายมากน้อยเพียงใด
-        ความพึงพอใจของครูมีมากน้อยเพียงใด
-        ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับนักเรียน
-        ผลการประเมินเป็นอย่างไร
-        ฯลฯ
            ตอนที่4/บทที่ สรุป ปัญหาและข้อเสนอแนะ
-        สรุป
-        ปัญหาและข้อเสนอแนะ















          ในการดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียน มีสิ่งที่โรงเรียนควรยึดแนวทางปฏิบัติ 3 ประเด็นดังต่อไปนี้

1. ขอบข่ายของงานนิเทศภายในโรงเรียน
          การนิเทศภายในโรงเรียน เป็นการนิเทศการปฏิบัติงานตามขอบข่ายงานในสถานศึกษาซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อให้บรรลุภารกิจของสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยงาน
4 งาน ได้แก่
1.       งานด้านวิชาการ เป็นงานที่มีเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้ ให้บรรลุตามจุดหมายของหลักสูตร
สถานศึกษา ตลอกจนคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ได้แก่
1.1     การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
1.2     การนำหลักสูตรสถานศึกษาไปใช้ และการออกแบการจัดการเรียนรู้
1.3     การส่งเสริมและการสนับสนุนให้ครูจัดทำและใช้แผนการจัดการเรียนรู้
1.4     การจัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ แบบบูรณาการ และเน้นทักษะการคิด
1.5     กรจัดหา พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา
1.6     การสนับสนุนให้ครูผลิตและใช้สื่อการเรียนรู้
1.7     การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1.8     การจัดมุมหนังสือ ห้องสมุด และแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา
1.9     การวัดและการประเมินผลตามสภาพจริง
1.10 การสอนซ่อมเสริม
1.11 การวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา
1.12 การประกันคุณภาพการศึกษา
1.13 การนิเทศภายในโรงเรียน
1.14 การส่งเสริมและการสนับสนุนให้ครูจัดทำแฟ้มข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล
1.15 การประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
1.16 การจัดศูนย์โสตทัศนูปกรณ์
1.17 การจัดบริการแนะแนว









2.       งานด้านบริหารบุคคล เป็นการจัดดำเนินการ เพื่อให้บุคลากรในสถานศึกษาได้รู้และเข้าใจหน้าที่
และความรับผิดชอบของตน การติดตามดูแล ช่วยเหลือให้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย ให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างบรรยากาศในการทำงานให้ผู้ร่วมงานทุกคนเกิดความสำนึกในหน้าที่ที่รับผิดชอบ สร้างความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงานส่งเสริมให้บุคคลในสถานศึกษาพัฒนาตนเอง ให้มีความสามารถในการปฏิบัติงานสูงขึ้น ได้แก่
2.1     การวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง
2.2     การกำหนดความต้องการ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคลากร
2.3     การมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบ
2.4     การปฐมนิเทศบุคลากรใหม่
2.5     การจัดสวัสดิการสร้างขวัญและกำลังใจ
2.6     การนิเทศ ติดตามผลและปฏิบัติงาน
2.7     การพัฒนาบุคลากร
2.8     การส่งเสริมให้ครูได้ศึกษาต่อ
2.9     การประเมินผลการปฏิบัติงาน
2.10 การพิจารณาความดีความชอบ
2.11 การกำหนดมาตรฐานกรปฏิบัติงานของบุคลากร
3.       งานด้านบริหารทั่วไป  เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสำนักงาน ซึ่งมีข้อกำหนดกฎเกณฑ์และ
วิธีการที่แน่นอน ได้แก่
3.1     งานธุรการและสารบรรณ
3.2     งานทะเบียนและรายงาน
3.3     งานข้อมูลและสารสนเทศ
3.4     งานอาคารและสถานที่ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย
   3.4.1 อาคารเรียน/ห้องเรียน
   3.4.2 ห้องผู้บริหาร ห้องทำงานครู
   3.4.3 ห้องสุขา
   3.4.4 สนาม บริเวณ แหล่งเรียนรู้
   3.4.5 ป้ายชื่อโรงเรียน รั้ว
   3.4.6 โรงอาหาร/อาคารอเนกประสงค์
   3.4.7 ห้องพยาบาล
   3.4.8 ภูมิทัศน์ภายในโรงเรียน
3.5     งานประชาสัมพันธ์ผลงานโรงเรียน
3.6     งานสวัสดิการ
3.7     งาน พ.ร.บ การศึกษา
3.8     งานระเบียบ กฎหมาย กฎกระทรวง และข้อปฏิบัติต่างๆ
3.9     กิจกรรม 5 ส.
4.       งานด้านงบประมาณ เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการเงินและพัสดุ ได้แก่
4.1     งานงบประมาณ
4.2     งานจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี
4.3     งานจัดตั้งและงานของประมาณประจำปี
4.4     งานเบิกจ่ายงบประมาณ
4.5     งานรายงานการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
4.6     การตรวจสอบ ติดตาม และประเมินประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณ
4.7     การบริหารการเงิน
4.8     การบริหารการบัญชี
4.9     การบริหารงานพัสดุ
4.10 การระดมทุนและทรัพยากรในการจัดการศึกษา

2. ทิศทางการพัฒนาศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 เป็นองค์กรแห่งการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีคุณภาพสู่มาตรฐานสากล พร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียนบนพื้นฐานของความเป็นไทย
พันธกิจ  (Mission)
               1. พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาให้ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญและพัฒนาสู่คุณภาพระดับสากล
               2. ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นไทย มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และมีวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
               3. ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้เรียนได้รับโอกาสในการจัดการศึกษาอย่างทั่วถึงเต็มตามศักยภาพ
               4. พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่คุณภาพมาตรฐานวิชาชีพ
               5. ส่งเสริม สนับสนุน การบริหารจัดการตามแนวทางการกระจายอำนาจทางการศึกษาและ
หลักธรรมาภิบาล โดยให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีประสิทธิภาพ
               6. ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน สถานศึกษาเอกชนให้จัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ
ค่านิยมองค์การ
             “องค์กรแห่งความสามัคคี  มีคุณธรรม  น้อมนำนโยบาย  ใฝ่พัฒนางาน  บริการเป็นเยี่ยม”
             SMILE        =    ยิ้มแย้มแจ่มใส
             S   =   SERVICE MIND                                     การมีจิตบริการ 
              M   =   MORAL                                            มีคุณธรรม
             I     =   INDUSTRY                                        มีความขยันหมั่นเพียร , ความอุตสาหะ                 
             L    =   LOVE  HARMONY                                รักสามัคคี
             E    =   EMPHASIS  POLICY                              เน้นนโยบาย

เป้าประสงค์  (Goals)
               1. ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน    โดยเน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญและพัฒนาสู่คุณภาพระดับสากล
               2. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นไทย มีความรับผิดชอบ     ต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และมีวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. ผู้เรียนได้รับโอกาสในการจัดการศึกษาอย่างทั่วถึงเต็มตามศักยภาพ
               4. ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาสู่คุณภาพ ตามมาตรฐานวิชาชีพ
               5.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และสถานศึกษา บริหารจัดการตามแนวทางการกระจายอำนาจทางการศึกษาและหลักธรรมาภิบาลอย่างมีประสิทธิภาพ
6.  สถานศึกษาเอกชนจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ
กลยุทธ์  (Strategies)
             กลยุทธ์ที่ 1     พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตรและส่งเสริมความสามารถด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้                                                    
             กลยุทธ์ที่ 2     ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม                                                  
             กลยุทธ์ที่ 3     ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงครอบคลุมผู้เรียนให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ                                                                                                        
             กลยุทธ์ที่ 4     พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ ให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ                                                                                      
             กลยุทธ์ที่ 5     พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางการกระจายอำนาจทางการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา                                                  
              กลยุทธ์ที่ 6  ส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษาเอกชน
          จุดเน้นการดำเนินงาน
               สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1  กำหนดจุดเน้นการดำเนินการ       ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้
               ส่วนที่ 1 จุดเน้นด้านผู้เรียน
                   1.1 นักเรียนมีสมรรถนะสำคัญ และความสามารถทางวิชาการ เพื่อพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (Students’ Competencies) ดังต่อไปนี้                                                                          
                             1.1.1 นักเรียนปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา
ที่สมดุลเหมาะสมกับวัย และเรียนรู้อย่างมีความสุข                                                            
                             1.1.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบระดับชาติ (O-NET) กลุ่มสาระหลัก เพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่น้อยกว่า  ร้อยละ 5         
                             1.1.3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถด้านภาษา ด้านคำนวณ และด้านการใช้เหตุผล                                   
                             1.1.4 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง        
                             1.1.5 นักเรียนมีทักษะชีวิต ทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์อย่างน้อย 2 ภาษา ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้  เหมาะสมตามช่วงวัย                                                                                                     
                   1.2  นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม รักความเป็นไทย มีคุณลักษณะและทักษะทางสังคมที่เหมาะสม (Students’ Characteristics & Social Skills) ดังต่อไปนี้                                     
                1.2.1 นักเรียนระดับประถมศึกษา ใฝ่เรียนรู้ ใฝ่ดี และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้        
                1.2.2 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีทักษะการแก้ปัญหาและอยู่อย่างพอเพียง
                   1.3  นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเต็มศักยภาพ (Students with Special Needs)                                                                                                            
                             1.3.1 เด็กพิการได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นรายบุคคลด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
                             1.3.2 เด็กด้อยโอกาสได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรและอัตลักษณ์แห่งตนโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรและอัตลักษณ์แห่งตน                                                 
                             1.3.3 นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษได้รับการส่งเสริมให้มีความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา กีฬา ดนตรี และศิลปะ                
                             1.3.4 นักเรียนที่เรียนภายใต้การจัดการศึกษาโดยครอบครัว สถานประกอบการ องค์กรเอกชน และสถานศึกษาทางเลือก ได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ                                         
                             1.3.5 เด็กกลุ่มที่ต้องการการคุ้มครองและช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ ได้รับการคุ้มครอง และช่วยเหลือเยียวยาด้วยรูปแบบที่หลากหลาย     
ส่วนที่ 2 จุดเน้นด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา                                                                                                                              
                   2.1 ครูและบุคลากรทางการศึกษา สามารถพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (Continuous Professional Development)                          
                             2.1.1 ครูและบุคลากรทางการศึกษา สามารถพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนและพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก
                             2.1.2 ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานที่กำหนด และสามารถจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลให้นักเรียนพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ                              
                             2.1.3 ครูและบุคลากรทางการศึกษา สามารถใช้ภาษาอังกฤษ  ภาษาเมียนมาร์  หรือภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสื่อสาร อย่างน้อย 1 ภาษา
                             2.1.4 ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้                                                                                                                                                                                                                                         
                   2.2 การพัฒนาระบบแรงจูงใจ เพื่อส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีขวัญและกำลังใจ และแสดงศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ (Incentives and Rewarding System)
                             2.2.1 ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีขวัญกำลังใจในการพัฒนาตนเองตามมาตรฐานคุณวุฒิ                                                                                                               
                             2.2.2 ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีขวัญกำลังใจ ได้รับการจูงใจในการพัฒนาผู้เรียน เต็มศักยภาพ                                                                                                                
                             2.2.3 ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีผลงานการสอนที่แสดงศักยภาพการสอนอย่างมืออาชีพ เป็นเชิงประจักษ์และได้รับการเชิดชูเกียรติอย่างเหมาะสม                                          
                   2.3 การส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามมาตรฐานวิชาชีพ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม (Professional Ethics)                                
                             2.3.1 ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามมาตรฐานวิชาชีพ                                                                                                            
                          2.3.2 ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีจิตวิญญาณและอุดมการณ์ ที่มุ่งพัฒนาการศึกษาของชาติ และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม                                                            
                          2.3.3 ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีทักษะในการเข้าถึงและดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ส่วนที่ 3 จุดเน้นด้านการบริหารจัดการ                                                                                                    
                   3.1 สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา บริหารจัดการโดยเน้นการมีส่วนร่วม และมีความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน (Participation and Accountability)                               
                              3.1.1 สถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพภายนอกและที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศได้รับการแก้ไขแทรกแซง ช่วยเหลือ นิเทศ ติดตาม เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนและเป็นผู้ประสานงานหลัก เพื่อให้สถานศึกษาทำแผนพัฒนาเป็นรายโรงร่วมกับผู้ปกครองชุมชนและองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง                                              
                             3.1.2 สถานศึกษาบริหารจัดการโดยมุ่งการมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน เพื่อประโยชน์สูงสุดของนักเรียน สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้บริการและสังคม                 
                              3.1.3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบริหารจัดการ นิเทศ ติดตาม ประเมินผลอย่างเข้มแข็ง โดยมุ่งการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน เพื่อประโยชน์สูงสุดของนักเรียน สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้บริการและสังคม                                                                                                       
                             3.1.4 องค์คณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ดำเนินการและติดตามประเมินการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มแข็งเพื่อประโยชน์สูงสุดคือคุณภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อนักเรียนได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ                                                                                                     
                   3.2 สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามระดับ
มาตรฐาน (Management with Quality and Standards)                              
                       3.2.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน ให้มีจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ   

ผลผลิต
                 1)  ผู้จบการศึกษาก่อนประถมศึกษา
                 2)  ผู้จบการศึกษาภาคบังคับ
                 3)  ผู้จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย
                 4)  เด็กพิการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการพัฒนาสมรรถภาพ
                 5)  เด็กด้อยโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                 6)  เด็กที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
             โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1  เป็นหน่วยปฏิบัติการในการจัดการศึกษา เพื่อให้ภารกิจดังกล่าวสามารถตอบสนองสภาพปัญหาและรองรับการขับเคลื่อนนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
จุดเน้น มาตรการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตรและส่งเสริมความสามารถด้าน
              เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
 จุดเน้น
มาตรการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. นักเรียนปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ที่สมดุล เหมาะสมกับวัย   และเรียนรู้อย่างมีความสุข
- พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย ตามหลักสูตรการจัดการศึกษาปฐมวัย
 พ.ศ. 2546
- ร้อยละ 100 ของนักเรียนปฐมวัยที่ได้รับการเตรียมความพร้อม
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบระดับชาติ (O-NET) กลุ่มสาระหลักเพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 5
- ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยเน้น 5 กลุ่มวิชาหลัก ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และภาษาต่างประเทศ
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลัก นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการทดสอบระดับชาติ (O-NET) เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลัก นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากการทดสอบระดับชาติ (O-NET) เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3            มีความสามารถด้านภาษา ด้านคำนวณ และด้านการใช้เหตุผลและชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีความสามารถด้านการอ่าน
- พัฒนาความสามารถด้านภาษา ด้านการคำนวณ และด้านการใช้เหตุผล
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3        ที่ไม่สามารถอ่านได้ ร้อยละ 1
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6     อ่านได้ทุกคน


จุดเน้น
มาตรการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
- ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา     ปีที่ 3 มีความสามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้ด้วยวิธีการสอนที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพตามบริบท
- ร้อยละ 80 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
5. นักเรียนมีทักษะชีวิต ทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ อย่างน้อย 2 ภาษา ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ เหมาะสมตามช่วงวัย
- ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนโดยเน้นให้นักเรียนเกิดทักษะชีวิต สามารถคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และทักษะการสื่อสาร โดยกระตุ้น/เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงออกและพัฒนาเต็มตามศักยภาพทั้งใน/นอกห้องเรียน

- สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนการสอน
- สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนการสอน
- ระดับความสำเร็จตามจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนตามนโยบายในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552-2561)   ระดับ 5





 - ร้อยละ 100 ของนักเรียนชั้น ป.1
ที่ได้รับสนับสนุนคอมพิวเตอร์พกพา  ได้รับการพัฒนาศักยภาพ















กลยุทธ์ 2     ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นไทยและวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม


จุดเน้น
มาตรการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. นักเรียนระดับประถมศึกษา
ใฝ่เรียนรู้ ใฝ่ดี และอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้
2. นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีทักษะการแก้ปัญหาและอยู่อย่างพอเพียง















- ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ใฝ่เรียนรู้ ใฝ่ดี และอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้ มีทักษะการแก้ปัญหาและอยู่อย่างพอเพียง    มีความมุ่งมั่นในการศึกษาและการทำงาน สามารถปรับตัวเข้ากับพหุวัฒนธรรมบนพื้นฐาน วัฒนธรรมที่ดีงามของไทย
- ร้อยละ 95 ของนักเรียนที่มีจิตสำนึกและค่านิยม ซื่อสัตย์ สุจริต และถูกต้องชอบธรรม












กลยุทธ์ที่ 3   ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงครอบคลุมผู้เรียน ให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ

จุดเน้น
มาตรการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. เด็กพิการได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นรายบุคคลด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
- ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาสมรรถภาพเด็กพิการเป็นรายบุคคล
- ร้อยละ 90 ของเด็กพิการ ผ่านเกณฑ์การพัฒนาสมรรถภาพตามแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล
2. เด็กด้อยโอกาสได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน  การเรียนรู้ตามหลักสูตรและอัตลักษณ์แห่งตน
3. นักเรียนที่เรียนภายใต้การจัดการศึกษาโดยครอบครัว สถานประกอบการ องค์กรเอกชน และสถานศึกษาทางเลือก ได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ
- เพิ่มและกระจายโอกาสให้ประชาชนวัยเรียนทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ
- ร้อยละ 100 ของผู้เรียนต่อประชากรวัยเรียนที่ได้รับการศึกษา
- อัตราการออกกลางคันลดลง  
ร้อยละ 0.2
4. นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ได้รับการส่งเสริมให้มีความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา กีฬา ดนตรี และศิลปะ
- เสริมสร้างที่มีความสามารถพิเศษ
ให้ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
- ระดับความสำเร็จของการพัฒนา
ผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ระดับ 5
5. เด็กกลุ่มที่ต้องการการคุ้มครองและช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ ได้รับการคุ้มครองและช่วยเหลือเยียวยา ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
- เสริมสร้างระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ โดยเน้นเด็กกลุ่มที่ต้องการการคุ้มครองและช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ
- ร้อยละ 100 ของนักเรียนอายุ
ต่ำกว่า 15 ปี ที่ตั้งครรภ์ลดลง
- ร้อยละ 20 ของคดีเด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีโดยสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนลดลง
- ร้อยละ 20 ของนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสารเสพติดลดลง





กลยุทธ์ที่ 4     พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ ให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้
                  อย่างมีคุณภาพ
จุดเน้น
มาตรการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. ครูและบุคลากรทางการศึกษา สามารถพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนและพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก
- เร่งรัดให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยวิธีการที่หลากหลาย
- ร้อยละ 100 ของครูที่ได้รับการพัฒนา มีคุณภาพด้านการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ร้อยละ 100 ของบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการพัฒนา สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ   
2. ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานที่กำหนด และสามารถจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลให้นักเรียนพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
- พัฒนาครูด้านกระบวนการคิดด้วยวิธีการหลากหลาย
- พัฒนาครูด้านทักษะการวัดผลประเมินผลการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ร้อยละ 100 ของครูที่ผ่านการพัฒนากระบวนการคิด
- ร้อยละ 80 ของครูที่ได้รับการพัฒนาการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. ครูและบุคลากรทางการศึกษา สามารถใช้ภาอังกฤษและภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสื่อสาร อย่างน้อย 1 ภาษา
- เร่งรัด พัฒนา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้ได้รับการเตรียมความพร้อมด้านภาษา สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของประเทศอาเซียนเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
- ร้อยละ 100 ของครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการเตรียมความพร้อมด้านภาษา สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของประเทศอาเซียนเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
4. ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้
- พัฒนาครูผู้สอนในชั้นที่ได้รับการจัดสรรเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ให้ได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์พกพา
- พัฒนาครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้
- ร้อยละของครูผู้สอนในชั้นที่ได้รับการจัดสรรเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์พกพา
- ร้อยละ 80 ของครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อเป็นเครื่องมือ
ในการจัดการเรียนรู้
5. ครูและบุคลากรทางการศึกษา มี มีขวัญกำลังใจในการพัฒนาตนเองตามมาตรฐานคุณวุฒิ
- ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้พัฒนาตนเองตามมาตรฐานวิชาชีพ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
- ร้อยละ 80 ของครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้พัฒนาตนเองตามมาตรฐานวิชาชีพ
จุดเน้น
มาตรการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
6. ครูและบุคลากรทางการศึกษามี มีขวัญกำลังใจ ได้รับการจูงใจในการพัฒนาผู้เรียนเต็มศักยภาพ
- ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามี มีขวัญกำลังใจและมุ่งมั่น ตั้งใจในการปฏิบัติงานเต็มศักยภาพ
- ร้อยละ 100 ของครูและบุคลากรทางการศึกษามุ่งมั่น ตั้งใจในการปฏิบัติงานเต็มศักยภาพ
7. ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีผลงานการสอนที่แสดงศักยภาพการสอนอย่างมืออาชีพ เป็นเชิงประจักษ์ และได้รับการเชิดชูเกียรติอย่างเหมาะสม
- ส่งเสริมครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นมืออาชีพ
- ร้อยละ 100 ของครูมีผลงานการสอนที่แสดงศักยภาพการสอนอย่างมืออาชีพ
8. ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามมาตรฐานวิชาชีพ
- พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพ
- ร้อยละ 100 ของครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามมาตรฐานวิชาชีพ
9. ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีจิตวิญญาณและอุดมการณ์ ที่มุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาของชาติและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม
- ยกระดับจิตวิญญาณ และอุดมการณ์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม
- ร้อยละ 100 ของครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามมาตรฐานวิชาชีพ
10. ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีทักษะในการเข้าถึงและดูแลช่วยเหลือนักเรียน
- พัฒนาและบุคลากรทางการศึกษาให้มีทักษะในการเข้าถึงและดูแลช่วยเหลือนักเรียน
- ร้อยละ 100 ของครูและบุคลากรทางการศึกษา สามารถส่งเสริมการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ













กลยุทธ์ที่ 5  พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา ตามแนวทางการกระจายอำนาจทางการศึกษา
                ตามหลักธรรมาภิบาล เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา

จุดเน้น
มาตรการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. สถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพภายนอก และที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ได้รับการแก้ไข แทรกแซง ช่วยเหลือ นิเทศ ติดตาม เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน
- ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพภายนอก จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาเป็นรายโรงร่วมกับผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- แทรกแซง ช่วยเหลือ นิเทศ ติดตามสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพภายนอก และที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ
- ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพภายนอก มีแผนพัฒนาการศึกษาเป็นรายโรงที่ร่วมจัดทำกับผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. สถานศึกษาบริหารจัดการโดยมุ่งการมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน เพื่อประโยชน์สูงสุดของนักเรียน สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้บริการและสังคม
- ส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนให้มีความเข้มแข็งเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
- ร้อยละ 100 ของสถานศึกษามีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็งครบองค์ประกอบตามกฎกระทรวงฯ
3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา บริหารจัดการ นิเทศ ติดตาม ประเมินผล อย่างเข้มแข็ง โดยมุ่งการมีส่วนร่วม และความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน เพื่อประโยชน์สูงสุดของนักเรียน สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้บริการและสังคม
- บริหารจัดการ โดยมุ่งการมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน
- นิเทศ ติดตาม กำกับ ดูแล ส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือ และพัฒนาสถานศึกษาให้เกิดความเข้มแข็ง
- ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาที่ได้รับการติดตามประเมินผลและนิเทศการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
4. องค์คณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานอย่างเข้มแข็ง เพื่อประโยชน์สูงสุด คือคุณภาพการจัดการเรียนรู้ เพื่อนักเรียนได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มตามศักยภาพ
- พัฒนาการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐาน
- ทุกองค์คณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ดำเนินการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานหน่วยงานตามบทบาทหน้าที่อย่างเข้มแข็ง
5. สถานศึกษาจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามระดับมาตรฐานที่สูงขึ้น เทียบเคียงกับประเทศผู้นำด้านคุณภาพการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน
- ส่งเสริม พัฒนาสถานศึกษาให้จัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามระดับมาตรฐานที่สูงขึ้น เทียบเคียงวิธีดำเนินการกับประเทศผู้นำด้านคุณภาพการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน
- ร้อยละ 80 ของสถานศึกษากลุ่มเป้าหมาย (Education Hub) จัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานที่สูงขึ้น เทียบเคียงกับประเทศผู้นำด้านคุณภาพการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน
6. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพตามระดับมาตรฐานที่สูงขึ้น
- ส่งเสริม สนับสนุน การบริหารจัดการให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่สูงขึ้น
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1  ผ่านการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา


กลยุทธ์ที่ 6 ส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษาเอกชน 

จุดเน้น
มาตรการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. นักเรียน ครู และสถานศึกษาในสถานศึกษาเอกชนได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
- พัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพิ่มโอกาสให้ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกพื้นที่
-  ร้อยละของผลสัมฤทธิ์ทาง  
การเรียนวิชาหลักของนักเรียน ในสถานศึกษาเอกชนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5
- เสริมสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง
- ร้อยละ 100 ของนักเรียน มีอัตราการเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
- พัฒนาครูและบุคลากรโรงเรียนเอกชนให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ร้อยละ 100 ของครู-และบุคลากรโรงเรียนเอกชน ได้รับการพัฒนาตามศักยภาพ

-  สถานศึกษาเอกชน ในสังกัด
ได้รับการพัฒนาคุณภาพ 

- ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาได้รับการติดตามประเมินผลและนิเทศการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
















รายงานการประชุมผู้บริหารสถานศึกษา
ครั้งที่ ๑/๒๕๕๗  (๑ เมษายน ๒๕๕๗) ณ ห้องประชุมโรงเรียนบ้านบ่อสามแสน

กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
          ๑.  ผลการทดสอบ O-NET
          ผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test)  ที่จัดสอบโดย สทศ. ปีการศึกษา ๒๕๕๖ เมื่อเปรียบเทียบกับปีการศึกษา ๒๕๕๔ พบว่า ในภาพรวมชั้นประถมศึกษา            ปีที่ ๖ คุณภาพต่ำลงเล็กน้อย ส่วนในภาพรวมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓  มีคุณภาพต่ำลงเล็กน้อย ยกเว้นภาษาไทยลดลงมาก  สามารถแสดงรายละเอียดได้ ดังนี้

มีรายละเอียด...ระดับโรงเรียน ภาคผนวกหน้า......





          สิ่งที่โรงเรียนควรดำเนินการที่เน้นกระบวนการนิเทศภายในโดยความร่วมมือร่วมใจของคณะครูในโรงเรียน ดังนี้
          ๑)  ศึกษาผลการทดสอบ O-Net ระดับโรงเรียน/ระดับชั้นเรียนอย่างละเอียด เพื่อจัดลำดับปัญหาของ สาระการเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้ที่เป็นปัญหา (ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ)
          ๒)  วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา/ สาเหตุของปัญหาที่จะนำไปสู่การวางแผนกลยุทธ์ “การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน” ที่เป็นรูปธรรม
          ๓)  จัดหา/สร้าง เครื่องมือ “นวัตกรรมการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน” ที่เป็นรูปธรรม
          ๔)  ดำเนินการ “การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน” ตามแผนกลยุทธ์
          ๕)  นิเทศ ติดตามและประเมินผล “การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน”
          ๖)  วัดและประเมินผล “การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน”
          ๗)  รายงานผล “การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน”

          ๒.  ยุทธศาสตร์ “การนิเทศภายในเพื่อยกระดับการจัดการศึกษา”
          สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต ๑  มีนโยบาย “พัฒนากระบวนการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพสากล” โดยใช้กลยุทธ์ ที่สำคัญดังนี้
          กลยุทธ์ที่ ๑  ใช้การนิเทศภายในเพื่อยกระดับการจัดการเรียนรู้ 
              โดยจะพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนให้สามารถใช้กระบวนการนิเทศภายในส่งเสริมสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา สามารถปฏิบัติการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและเต็มศักยภาพ  โดยจะจัดประชุมสัมมนาผู้อำนวยการโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต ๑ ทุกคน โดยแบ่งการอบรมเป็น ๓ รุ่น ๆ ละ ๑ วัน  ดังนี้
              รุ่นที่ ๑  วันที่ ๘ เมษายน  ๒๕๕๗ สำหรับผู้อำนวยการโรงเรียน ๙ กลุ่มโรงเรียน ได้แก่ ชากังราว, เมืองนครชุม, วชิรปราการ, เทพนคร, นาบ่อคำ, ขุนรามทรงธรรม, นาบ่อคำ, ขุนรามทรงธรรม และอ่างทอง จำนวนทั้งสิ้น  ๗๒ คน (ภาคผนวก)
              รุ่นที่ ๒  วันที่ ๙  เมษายน  ๒๕๕๗ สำหรับผู้อำนวยการโรงเรียน ๘ กลุ่มโรงเรียน ได้แก่ วังทอง  ไตรตรึงษ์ พรานกระต่าย ท่าไม้วังควง คลองคีรี หนองหัววัว คุยตะแบก และหนองคล้า จำนวนทั้งสิ้น  ๖๘ คน (ภาคผนวก)
              รุ่นที่ ๓  วันที่ ๑๐ เมษายน  ๒๕๕๗ สำหรับผู้อำนวยการโรงเรียน ๗ กลุ่มโรงเรียน ได้แก่ ไทรงาม หนองพานทอง ลานกระบือ ช่องลมสุขสันต์ หนองหลวง นครโกสัมพี และสหสามัคคี  จำนวนทั้งสิ้น  ๖๘ คน (ภาคผนวก)
              *** กำชับให้ผู้อำนวยการโรงเรียนทุกคนเข้าร่วมประชุมสัมมนาด้วยตนเอง 





          กลยุทธ์ที่ ๒  พัฒนาหลักสูตรและโครงสร้างหลักสูตรเดียวกัน
              จากสภาพปัญหาการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ของโรงเรียนต่าง ๆ ในสังกัด พบปัญหาสำคัญที่สุดคือ ครูไม่ได้จัดทำและหรือใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับหลักสูตรโรงเรียน สำนักงาน       เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต ๑  จึงกำหนดให้มีการพัฒนาหลักสูตรต้นแบบ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา โดยจะจัดทำโครงสร้างหลักสูตร (กำหนดการสอนและโครงสร้างการวัดและประเมินผลระดับเขตพื้นที่การศึกษา (LAS) ระดับประถมศึกษา (ชั้น ป.๑–๖) ใน ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้  โดยกำหนดภาระงานสำคัญ ดังนี้
              การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรและโครงสร้างหลักสูตร ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ในวันที่ ๗  เมษายน ๒๕๕๗ (๐๘.๐๐ ๑๗.๐๐ น.) โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต ๑ โดยให้ความรู้และมอบหมายภารกิจให้ คณะทำงานระดับกลุ่มโรงเรียน รับผิดชอบจัดทำกำหนดการสอนและโครงสร้างการวัดและประเมินผล ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับประถมศึกษา (ชั้น ป.๑–๖) ใน ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้   
              ทั้งนี้มอบให้กลุ่มโรงเรียนเป็นเจ้าภาพ ในการพัฒนาหลักสูตรจัดทำกำหนดการสอนและโครงสร้างการวัดและประเมินผล ระดับเขตพื้นที่การศึกษา กลุ่มโรงเรียนละ ๒ – ๓ รายวิชา (ภาคผนวก)
              ในระหว่างวันที่ ๑ – ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๗  โดยศึกษานิเทศก์และกลุ่มโรงเรียนจัดสัมมนาผู้เชี่ยวชาญ วิพากษ์ “กำหนดการสอนและโครงสร้างการวัดและประเมินผล” และจัดทำไฟล์ต้นแบบออนไลน์
              ระหว่างวันที่ ๑๒–๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๗ โดยกลุ่มโรงเรียนและโรงเรียน ทบทวน/พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โดยนำกำหนดการสอนและโครงสร้างการวัดและประเมินผลระดับเขตพื้นที่การศึกษา ไปสู่การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ต่อไป

          กลยุทธ์ที่ ๓  ยกระดับการใช้ห้องสมุดและแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย
              ปัจจุบันมีโรงเรียนจำนวนมาก (ส่วนใหญ่) ขาดการส่งเสริมสนับสนุนการใช้ห้องสมุดเป็นแหล่ง การเรียนรู้อย่างจริงจัง (ห้องสมุดไม่เอื้อต่อการเรียนรู้) ในขณะที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต ๑ ตระหนักและเห็นความสำคัญของการพัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ จึงกำหนดให้การปรับปรุงห้องสมุด ให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับนักเรียน โดยให้มีหนังสือที่หลากหลายและเพียงพอ  ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ เน้นการสร้างมุมความรู้สาระการเรียนรู้ อย่างน้อยสองเรื่องคือ “เศรษฐกิจพอเพียง” และ “อาเซียนศึกษา”
                   ***มุมหนังสือมีเป้าหมาย เพื่อพัฒนาบรรยากาศห้องสมุดให้เป็นสถานที่เอื้อต่อศึกษาค้นคว้า             ในแต่ละเรื่องที่เป็นจุดเน้น (เช่น เศรษฐกิจพอเพียง และ อาเซียน” ควรจัดหาให้มีหนังสืออย่างหลากหลาย (หลายรายการ) และแต่ละรายการมีจำนวนหลายเล่มเพียงพอต่อการจัดกิจกรรม “การศึกษาเพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง”***










          กลยุทธ์ที่ ๔  หนึ่งนักเรียนหนึ่งความรู้
               ตามที่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต ๑ ได้ดำเนินงานโครงการ พัฒนากระบวนการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพสากล โดยใช้กลยุทธ์หนึ่งนักเรียน หนึ่งความรู้    (One Child OK : One Child One Knowledge) จากผลการดำเนินงานในปีการศึกษา ๒๕๕๖ จำนวน ๓๐ โรงเรียน  พบว่า  เป็นแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับแนวคิดสากลเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑  ใน ๕ ด้าน คือ
               ๑)  รักการอ่าน มีความใฝ่รู้และใฝ่เรียนรู้
              ๒)  ใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ  
               ๓)  คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และสร้างความรู้ด้วยตนเอง 
               ๔)  ทำงานเป็นและสร้างเอกสารความรู้ของตนเอง
               ๕)  สื่อสารด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
              ทั้งนี้ มีเป้าหมายสำคัญคือ ให้นักเรียนใช้ทักษะการอ่าน ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์สารสนเทศ รวบรวมข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย (หนังสือห้องสมุด/ Internet) อย่างน้อย ๘ รายการ แล้วนำมาสู่การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยเขียนเป็นหนังสือ (Book) และนำเสนอความรู้เหล่านั้นด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตามระดับชั้นดังนี้
              ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ได้แก่  เอกลักษณ์อาเซียน
               ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ได้แก่  สนุกกับภาษาอาเซียน
               ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ได้แก่  อาหารท้องถิ่นอาเซียน
               ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ได้แก่  ศาสนาและวัฒนธรรมอาเซียน
              ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ได้แก่  การประกอบอาชีพในอาเซียน
              ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้แก่  ประชาคมอาเซียน
              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑  ได้แก่   บุคคลสำคัญของประเทศอาเซียน
              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒  ได้แก่   ภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยวอาเซียน  
              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓  ได้แก่   ระบบการบริหารประเทศในอาเซียน
              นโยบายในปีการศึกษา ๒๕๕๗
                   ให้ทุกโรงเรียนจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ “อาเซียนศึกษา” สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับ (ชั้น ป๑–๖ และ ม.๑–๓)  และดำเนินการจัดการเรียนรู้บูรณาการ  สัปดาห์อาเซียน ในเดือนสิงหาคม ของทุกปี
                   โรงเรียนในโครงการ One Child OK ปีการศึกษา ๒๕๕๖ และโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา (ระดับมัธยมศึกษา) ให้พัฒนาหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล โดยเปิดทำการเรียนการสอน รายวิชาเพิ่มเติม “การศึกษาเพื่อการเรียนรู้” จำนวน ๑ หน่วยกิจ (๔๐ ชั่วโมงต่อปี)  





          กลยุทธ์ที่ ๕  ปรับปรุงกระบวนการวัดและประเมินผลให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น
               ตามที่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต ๑ จัดให้มีการวัดและประเมินผล ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (LAS : Local Assessment System) จากการประเมินผลการดำเนินงานพบว่า บรรลุเป้าหมายเชิงปริมาณ แต่ยังมีข้อบกพร่องในกระบวนการปฏิบัติที่ต้องปรับปรุงแก้ไขให้ มีคุณภาพเพิ่มขึ้น

          นโยบายปีการศึกษา ๒๕๕๗ 
              สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต ๑ จะจัดทดสอบรายวิชาพื้นฐาน  ดังนี้
แบบทดสอบ
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ด้านภาษา (Literacy)
ü
ü
-
-
-
-
-
-
-
ด้านคำนวณ (Numeracy)
ü
ü
-
-
-
-
-
-
-
ด้านเหตุผล (Reasoning abilities)
ü
ü
-
-
-
-
-
-
-
ภาษาไทย
-
-
-
ü
ü
-
ü
ü
-
คณิตศาสตร์
-
-
-
ü
ü
-
ü
ü
-
วิทยาศาสตร์
-
-
-
ü
ü
-
ü
ü
-
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
-
-
-
ü
ü
-
ü
ü
-
ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
ü
ü
ü
ü
ü
-
ü
ü
-
ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ
ü
ü
ü
ü
ü
ü
ü
ü
ü
อาเซียนศึกษา
ü
ü
ü
ü
ü
ü
ü
ü
ü

          ทั้งนี้  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต ๑  จะพัฒนา/สร้างแบบทดสอบตามโครงสร้างการวัดและประเมินผล ตาม โครงสร้างการวัดและประเมินผลระดับเขตพื้นที่การศึกษา (LAS) ระดับประถมศึกษา (ชั้น ป.๑ – ๖)   และจะใช้โครงสร้างการวัดและประเมินผลระดับเขตพื้นที่การศึกษา ที่พัฒนาร่วมกับ ศูนย์พัฒนาการเรียนรู้โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต ๑



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น