ตอนที่2

ตอนที่ 2
            การนิเทศภายในโรงเรียน
1.      ความหมายการนิเทศภายในโรงเรียน
            การนิเทศภายในโรงเรียนหมายถึง การส่งเสริม สนับสนุน หรือให้ความช่วยเหลือครูในโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จในด้านการปฏิบัติงานตามภารกิจหลัก ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือการสร้างเสริมพัฒนาการของผู้เรียนทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย สังคมอารมณ์ จิตใจและสติปัญญาให้เต็มตามวัยและศักยภาพ
การนิเทศภายในโรงเรียนเป็นการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนนั้น ที่มุ่งเน้นการปรับปรุงแก้ไข พัฒนาการปฏิบัติงานของครูให้มีประสิทธิภาพและส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนและคุณภาพการจัดการศึกษา
            1.1 ความจำเป็นของการนิเทศภายในโรงเรียนการนิเทศภายในโรงเรียน มีความจำเป็น ดังนี้
                1)  มุ่งการปรับปรุงคุณภาพของการจัดการศึกษา ให้ได้มาตรฐานใกล้เคียงกัน
                 2)  บุคลากรในสถานศึกษา มีข้อมูลสารสนเทศ และมีความใกล้ชิดกับปัญหามากที่สุด
                3)  บรรยากาศในการนิเทศมีความเป็นกันเองและสามารถดำเนินการนิเทศได้อย่างต่อเนื่อง
  1.2   องค์ประกอบของการนิเทศภายในโรงเรียน
1)  มีระบบข้อมูลและสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนนิเทศภายในโรงเรียน
2)  มีระบบการการนิเทศอย่างมียุทธศาสตร์
3)  มีระบบการจัดการที่เน้นการพัฒนาครูและนักเรียน
                4)  มีระบบการติดตาม ประเมินผลที่เน้นผลงานครู
                5)  มีระบบการเผยแพร่และขยายผล
            1.3 หลักการนิเทศภายในโรงเรียน
                1) การดำเนินการนิเทศ จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ตามขั้นตอนกระบวนการที่นิเทศภายในโรงเรียน
                2) บุคลากรที่เป็นหลักสำคัญในการดำเนินการพัฒนาระบบนิเทศภายในโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา
3) การนิเทศภายในโรงเรียน จะต้องสอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นในการ
พัฒนาครูและนักเรียน
                 4) ยุทธศาสตร์การนิเทศภายในโรงเรียน
                      1 สร้างภาพปลายทางให้ชัดเจน(เป้าหมาย)
                ภาพปลายทาง  หมายถึง  สภาพความสำเร็จที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษา ซึ่งควรกำหนดให้ชัดเจนและครูทุกคนมองเห็นสภาพความสำเร็จให้ตรงกัน มีความเข้าใจตรงกัน เพื่อที่จะได้ร่วมมือกันพัฒนาให้ไปสู่ความสำเร็จที่กำหนดนั้น
                      สร้างภาพงานที่ชัดเจนตลอดแนว(แนวดำเนินการ)
                ภาพงาน  หมายถึงการกำหนดภาระงานที่ต้องวางแผนการดำเนินการให้มุ่งสู่สภาพความสำเร็จที่กำหนดไว้ จะต้องพัฒนาใครในเรื่องใดและพัฒนาอย่างไร
2. กิจกรรมการนิเทศภายในโรงเรียน
            กิจกรรมนิเทศภายในโรงเรียน มีหลากหลายวิธีให้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับปัญหา ความต้องการและจำเป็นในการพัฒนาของบุคลากรในสถานศึกษา ซึ่งมีรายละเอียดของกิจกรรมนิเทศ ดังนี้
            การให้คำปรึกษาแนะนำ
            1) ความหมาย
                การให้คำปรึกษาแนะนำ เป็นการพบปะกันระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศซึ่งอาจกระทำได้หลายวิธี ในที่นี้ใช้เทคนิคการนิเทศแบบ โค้ชชิ่ง (Coaching  Techniques) ซึ่งเป็นวิฝีการพัฒนาบุคลากรอย่างมีแบบแผน โดยกระทำ ณ จุดปฏิบัติงาน
            2)  วัตถุประสงค์
                เพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานก้าวไปถึงจุดหมายปลายทางได้ เช่น ความสามารถที่จะรับผิดชอบงานในหน้าที่สูงขึ้น หรือเป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงานมากขึ้น
            3)  วิธีการให้คำปรึกษาแนะนำ
                การให้คำปรึกษาแนะนำมี 2 วิธี คือ
                วิธีที่ 1 การให้คำปรึกษาแบบไม่เป็นทางการ
                     เป็นการให้คำปรึกษาแนะนำ โดยใช้เวลาว่างพูดคุยกัน เช่น ตอนรับประทานอาหารกลางวัน เป็นต้น วิธีนี้ผู้นิเทศสามารถให้ความช่วยเหลือผู้รับการนิเทศได้ 3 ลักษณะ คือ
                     1.1  บอกวิธีการแก้ปัญหาโดยตรง
                     1.2  เสนอข้อมูลและให้โอกาสผู้รับการนิเทศวิเคราะห์ปัญหาเอง
                     1.3    แบบผสมผสาน ทั้งลักษณะที่ 1 และ 2
                 ขั้นตอนการนิเทศ
1)      รับรู้ปัญหา
2)      วิเคราะห์ปัญหา
3)      แก้ปัญหา โดยเลือกวิธีแก้ปัญหาลักษณะใดลักษณะหนึ่ง
                วิธีที่ 2  การให้คำปรึกษาแบบเป็นทางการ

                     การให้คำปรึกษาแบบเป็นทางการใช้ขั้นตอนการนิเทศแบบโคชชิ่ง เขียนเป็นสัญลักษณ์ CQCD  ( C- Compliment ชมเชย  C- Question สอบถาม C-Correct แก้ไข D – Demonstrate สาธิต)   
การนิเทศแบบการศึกษาดูงาน
ความหมาย
            การศึกษาดูงานหมายถึง การพาบุคลากรของโรงเรียนไปศึกษาค้นคว้าและเพิ่มพูนประสบการณ์ในสถานที่ต่าง ๆ
วัตถุประสงค์
            เพื่อให้บุคลากรในสถานศึกษา ได้พัฒนาตนและพัฒนางานให้มีคุณภาพ
ขั้นตอนการนิเทศแบบศึกษาดูงาน
            การนิเทศแบบศึกษาดูงาน มีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
            เลือกสถานที่ศึกษาดูงานที่ตรงกับปัญหาและความต้องการ
            2 กำหนดวัตถุประสงค์ของการศึกษาดูงาน
            3 วางแผน ประสานงานกับสถานที่ที่จะไปดูงาน
            4 แจ้งหน่วยงานที่ไปศึกษาดูงาน บรรยายสรุปการดำเนินงานให้ฟัง
            5  ควรใช้เวลาในการศึกษาดูงานให้นานพอสมควร
            6 หลังจากศึกษาดูงานแล้ว ควรกลับไปสรุปแนวคิดและวางแผนปรับปรุงงานต่อไป
การนิเทศแบบการประชุมนิเทศ
ความหมาย
            การประชุมนิเทศหมายถึงการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้นิเทศเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นโดยผู้นิเทศเป็นผู้ศึกษาหาแนวทางในการแก้ปัญหา แล้วนำมาแนะนำแก่ผู้รับการนิเทศ หรือผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศศึกษาและหาข้อสรุปที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงแก้ไขปัญหานั้น ๆ
วัตถุประสงค์

            เพื่อให้ผู้รับการนิเทศ ได้แนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นและนำไปปรับปรุงแก้ไขอย่างมีคุณภาพ
ขั้นที่ 1 ขั้นเริ่มต้น
            ขั้นเริ่มต้นของการนิเทศแบบประชุมนิเทศ มีขั้นตอนดังนี้
            1.1 ผู้รับการนิเทศรับทราบปัญหาจากผู้รับการนิเทศ แล้วสนทนาสอบถามถึงเรื่องราวที่เป็นปัญหานั้น ๆ
           1. 2 ผู้นิเทศศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขจากเอกสาร ตำรา หรือจากประสบการณ์ หรือผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศศึกษาปัญหาร่วมกัน
ขั้นที่ 2  ขั้นอภิปรายและแสดงความคิดเห็น
            ขั้นอภิปรายและแสดงความคิดเห็น มีขั้นตอน ดังนี้
            2.1  ผู้นิเทศนำอภิปรายถึงปัญหาของผู้รับการนิเทศ
            2.2 ผู้รับการนิเทศร่วมอภิปรายและแสดงความคิดเห็น
ขั้นที่ 3  ขั้นสรุป
            ขั้นสรุป มีขั้นตอนดังนี้
            ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ ร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการแก้ปัญหา และผู้รับการนิเทศตัดสินใจแก้ปัญหาแก่ผู้รับการนิเทศ หรืออาจร่วมกันตัดสินใจทั้งผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศเพื่อนำไปดำเนินการต่อไป
การนิเทศแบบสนทนาทางวิชาการ
ความหมาย
            การสนทนาทางวิชาการ หมายถึง การประชุมครูหรือกลุ่มผู้สนใจเรื่องราวข่าวสารเดียวกัน โดยกำหนดให้ผู้นำสนทนาคนหนึ่ง นำสนทนาในเรื่องที่กลุ่มสนใจ
วัตถุประสงค์
            1  เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจแนวทางการปฏิบัติงาน เทคนิค วิธีการแก่คณะครูในโรงเรียน

            2 เพื่อพัฒนาบุคลากรในโรงเรียน
            รายละเอียดขั้นตอนการนิเทศแบบสนทนาทางวิชาการ
ขั้นที่ 1 ศึกษาปัญหา
            ขั้นศึกษาปัญหามีวิธีการ คือ สำรวจปัญหา ความต้องการในเรื่องราวที่มีความสนใจร่วมกันหรือเป็นปัญหาร่วมกัน เช่น เรื่องการสอนภาษาไทยแบบบูรณาการ เรื่องการจัดการเรียนรู้ทักษะกระบวนการคิด เป็นต้น แล้วลำดับ เรื่องที่ใช้สนทนาทางวิชาการตามความสำคัญ ความจำเป็นและความเหมาะสม
ขั้นที่ 2 เลือกผู้นำสนทนาทางวิชาการ
            ขั้นการเลือกผู้นำทางวิชาการ มีวิธีการ ดังนี้
            2.1  เลือกบุคคลใดบุคคลหนึ่งในโรงเรียน ที่เห็นว่ามีความสามารถเป็นผู้นำสนทนาทางวิชาการได้ โดยผู้นำจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องี่จะสนทนาได้อย่างลึกซึ้งกว่าผู้อื่น
            2.2  เลือกบุคคลภายนอก หากเห็นว่า เรื่องที่จะสนทนานั้นค่อนข้างยากคณะครูในโรงเรียนยังไม่มีความรู้ความเข้าใจและความชำนาญเพียงพอ
            2.3  ผู้นำทางวิชาการ ควรหมุนเวียนกันไป ไม่ควรเป็นผู้เดียวซ้ำตลอดปี
            2.4  ประสานงานกับผู้นำสนทนาทางวิชาการ ทั้งในหรือนอกโรงเรียนโดยแจ้งวัตถุประสงค์ให้เข้าใจตรงกัน
ขั้นที่ 3 ปฏิบัติการ
            ขั้นปฏิบัติการ มีขั้นตอน ดังนี้
            3.1  กำหนดการสนทนาทางวิชาการในช่วงหลังรับประทานอาหารกลางวัน หรือช่วงว่างตอนใดตอนหนึ่งที่เห็นว่าเหมาะสม โดยอาจกำหนดเป็นรายสัปดาห์หรือรายเดือนตามความต้องการและทำปฏิทินไว้ให้ชัดเจน
            3.2  กำหนดเวลาสนทนาครั้งละ 30 - 45 นาที
ขั้นที่ 4 การประเมินผล
            ขั้นการประเมินผล มีขั้นตอน ดังนี้
            4.1  สังเกต สอบถามและบันทึก ความสนใจและความเข้าใจของผู้ร่วมสนทนาทางวิชาการ แล้วนำมาเป็นข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดดำเนินการต่อไป
            4.2 สังเกตการพัฒนาตนเองและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู
 การนิเทศแบบเยี่ยมชั้นเรียน
ความหมาย
            การเยี่ยมชั้นเรียนหมายถึง  การที่ผู้นิเทศไปพบและสังเกตการทำงานของครูในชั้นเรียน เพื่อร่วมกันพัฒนาการทำงานให้มีคุณภาพ
วัตถุประสงค์
           1 เพื่อสำรวจความต้องการของครู
           2 เพื่อศึกษาปัญหาของครูในสถานศึกษา
           3 เพื่อประเมินผลการสอนของครู
           4 เพื่อกระตุ้นให้ครูปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
           5 เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำแก่ครู
รายละเอียดขั้นตอนการนิเทศแบบเยี่ยมชั้นเรียน
ขั้นที่ 1  สร้างข้อตกลงในการนิเทศเยี่ยมชั้นเรียน
            การสร้างข้อตกลงในการนิเทศเยี่ยมชั้นเรียน มีขั้นตอน ดังนี้
            1 พบปะสนทนา สร้างความคุ้นเคยและสร้างเจตคติที่ดีในการนิเทศแก่ ครู
            2 วางแผนการนิเทศเยี่ยมชั้นเรียน ร่วมกับครูในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
                2.1 กำหนดการนิเทศเยี่ยมชั้นเรียน
                   2.2 กำหนดจุดมุ่งหมายในการนิเทศเยี่ยมชั้นเรียน
                   2.3 กำหนดที่จะนิเทศตามความต้องการ/จำเป็น ดังนี้
                             1)การจัดทำเอกสารและงานธุรการประจำห้องเรียน
                             2)การจัดห้องเรียนและบรรยากาศในห้องเรียน
                             3)การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                             ฯลฯ
                     2.4 กำหนดวิธีการนิเทศ ดังนี้
                             1) สำรวจปัญหาและความต้องการของครู
                             2) สอบถามการปฏิบัติงานของครู
                             3) ให้คำปรึกษาแนะนำ
                             4) สังเกตการสอน
                             ฯลฯ
ขั้นที่ 2  ปฏิบัติการนิเทศเยี่ยมชั้นเรียน
            ผู้นิเทศปฏิบัติการนิเทศเยี่ยมชั้นเรียนตามข้อตกลงที่กำหนดร่วมกันกับครู ดังนี้
            1  เข้านิเทศเยี่ยมชั้นเรียนตรงตามเวลาที่กำหนด
            2 ให้ความเป็นกันเอง เพื่อสร้างเจตคติที่ดีแก่ครู
ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ผลการนิเทศเยี่ยมชั้นเรียน
            ขั้นวิเคราะห์ผลการนิเทศเยี่ยมชั้นเรียน มีขั้นตอน ดังนี้
            1 วิเคราะห์ผลการนิเทศเยี่ยมชั้นเรียนร่วมกับครู
            2 สรุปผลการนิเทศเยี่ยมชั้นเรียน
           3 ให้คำปรึกษาแนะนำ
ขั้นที่ 4 ปรับปรงการทำงาน
            ครูนำผลการนิเทศเยี่ยมชั้นเรียน มาปรับปรุงแก้ไข


1 ความคิดเห็น: